top of page
  • รูปภาพนักเขียนSpeedyCash

อยากจับผิดแบงก์ปลอมต้องดูตรงไหน....มีหลายจุดเลยนะคะ


อยากรู้จักจุดสังเกตแบงก์พันที่ดูได้แบบง่าย ๆ เร็ว ๆ...ขอให้นึกถึง “แถบสีในเนื้อกระดาษ”

วันนี้เรามารู้จัก “แถบสีทอง” ของธนบัตร 1000 บาท แบบปัจจุบันกันค่ะ

1. เป็นพลาสติกสีทองที่ฝังไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งของธนบัตร จึงเรียกว่า “แถบสีทอง” 2. ในมุมปกติจะมองเห็นเป็นเส้นประแต่เมื่อส่องกับแสงจะเห็นเป็นเส้นตรงและมีข้อความ “1000 บาท 1000 BAHT” 3. เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียว และลวดลายในแถบจะกลิ้งเคลื่อนไหวไปมาได้ 4. แถบสีอาจมีรอยขูดขีด หลุดลอกชำรุดจากการใช้งานได้ 5. แถบสีที่อยู่ในเนื้อกระดาษธนบัตรแต่ละฉบับสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกันได้ โดยอาจเลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา ตามระยะที่มาตรฐานกำหนดไว้

รู้จักกันแล้วอย่าลืมจดจำและนำไปใช้นะคะ แถบสีมีประโยชน์สังเกตง่าย แต่เพื่อความปลอดภัยควรตรวจสอบจุดอื่นเพิ่มเติมด้วยอย่างน้อย 3 จุด นะคะ

#สัมผัสยกส่องพลิกเอียง #แบงก์จริงต้องกลิ้งได้ #แบงค์ปลอม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : FB ธนบัตรทุกเรื่อง

ดู 3 ครั้ง

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page